ช่วงของจำนวนจริง และการแก้อสมการ

ช่วงของจำนวนจริง
กำหนดให้ a, b เป็นจำนวนจริง และ a < b
   1. ช่วงเปิด (a, b)
           (a, b) = { x | a < x < b }


   2. ช่วงปิด [a, b]
           [a, b] = { x | a ≤ x ≤ b }
  
 3. ช่วงครึ่งเปิด (a, b]
          (a, b] = { x | a < x ≤ b }
 4. ช่วงครึ่งเปิด [a, b)
          [a, b) = { x | a ≤ x < b }
5. ช่วง (a, ∞)
          (a, ∞) = { x | x > a}
6. ช่วง [a, ∞)
          [a, ∞) = { x | x ≥ a}
7. ช่วง (-∞, a)
         (-∞, a) = { x | x < a}
8. ช่วง (-∞, a]
         (-∞, a] = { x | x ≤ a}



การแก้อสมการ
     อสมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร กับจำนวนใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย ≠ , ≤ ,≥ , < , > , เป็นตัวระบุความสัมพันธ์ของตัวแปร และจำนวนดังกล่าว
     คำตอบของอสมการ คือ ค่าของตัวแปรที่ทำให้อสมการเป็นจริง
     เซตคำตอบของอสมการ คือ เซตของค่าตัวแปรทั้งหมดที่ทำให้อสมการเป็นจริง
หลักในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
เราอาศัยสมบัติของการไม่เท่ากันในการแก้อสมการ เช่น
1. สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน
     ถ้า a > b แล้ว a + c > b + c
2. สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน
     ถ้า a > b และ c > 0 แล้ว ac > bc
     ถ้า a > b และ c < 0 แล้ว ac < bc


ตัวอย่างที่ 1จงหาเซตคำตอบของ x + 3 > 12
วิธีทำx + 3>12
x + 3 + (-3)>12 + (-3)
x>9
เซตคำตอบของอสมการนี้คือ (9, ∞)
หลักในการแก้อสมการตัวแปรเดียวกำลังสอง
กำหนดให้ a และ b เป็นจำนวนจริงใดๆ
1. ถ้า ab = 0 แล้ว จะได้ a = 0 หรือ b = 0
2.ถ้า= 0 แล้ว จะได้ a = 0
3. ถ้า ab > 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b > 0 หรือ a < 0 และ b < 0
4. ถ้า ab < 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b < 0 หรือ a < 0 และ b > 0
5. ถ้า ab ≥ 0 แล้ว จะได้ ab > 0 หรือ ab = 0
6. ถ้า ab ≤ 0 แล้ว จะได้ ab < 0 หรือ ab = 0
7.ถ้า> 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b > 0 หรือ a < 0 และ b < 0
8.ถ้า< 0 แล้ว จะได้ a > 0 และ b < 0 หรือ a < 0 และ b > 0
9.ถ้า≥ 0 แล้ว จะได้> 0
หรือ
= 0

10. ถ้า≤ 0 แล้ว จะได้< 0 หรือ= 0


ตัวอย่างที่ 2จงหาเซตคำตอบของ (x - 3)(x - 4) > 0
วิธีทำถ้า (x - 3)(x - 4)>0 แล้วจะได้
x - 3>0 และ x - 4 > 0
x>3 และ x > 4
เมื่อ x - 3>0 และ x - 4 < 0 แล้วจะได้ x > 4
หรือ x - 3<0 และ x - 4 < 0
x<3 และ x < 4
x - 3<0 และ x - 4 < 0 แล้วจะได้ x < 3
นั่นคือ เซตคำตอบของ (x - 3)(x - 4) > 0 คือ
{ x | x < 3 หรือ x > 4 } = (-∞, 3 ) ∪ (4, ∞ )

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สรุปเป็นหลักในการแก้อสมกาีได้ดังนี้
กำหนดให้ x, a, b เป็นจำนวนจริง และ a < b แล้ว
1. ถ้า (x - a)(x - b) > 0 จะได้ x < a หรือ x > b
2. ถ้า (x - a)(x - b) < 0 จะได้ a < x < b
3. ถ้า (x - a)(x - b) ≥ 0 จะได้ x ≤ a หรือ x ≥ b
4. ถ้า (x - a)(x - b) ≤ 0 จะได้ a ≤ x ≤ b
5. ถ้า> 0 จะได้ x < a หรือ x > b
6. ถ้า< 0 จะได้ a < x < b
7. ถ้า≥ 0 จะได้ x ≤ a หรือ x > b
8. ถ้า≤ 0 จะได้ a ≤ x < b
หรือ สามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น