ทฤษฎีจำนวนจริง

การหารลงตัว

บทนิยาม     กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มใดๆ โดยที่ b ≠ 0 
                 b หาร a ลงตัว ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn 
                 และเขียนแทน “b หาร a ลงตัว” ได้ด้วยสัญลักษณ์ b | a

     จากบทนิยาม ถ้า b หาร a ไม่ลงตัว แสดงว่าไม่มีจำนวนเต็ม n ที่ทำให้ a = bn และ เขียนแทน “b หาร a ไม่ลงตัว ได้ด้วยสัญลักษณ์ b † a
     
      ตัวอย่างเช่น     3 | 9 เพราะมี n = 3 ที่ทำให้  9 = 3n
                              -5 | 10 เพราะมี n = -2 ที่ทำให้ 10 = +5n

สมบัติการหารลงตัว
     
     ทฤษฎีบทที่ 1    กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ
                           ถ้า a | b และ b | c แล้วจะได้ a | c

     ทฤษฎีบทที่ 2    กำหนด a, b เป็นจำนวนเต็มบวก
                           ถ้า a | b แล้วจะได้ a ≤ b

     ทฤษฎีบทที่ 3    กำหนด a, b, c เป็นจำนวนเต็มใดๆ
                           ถ้า a | b และ b | c แล้วจะได้ a | bx + cy
                           เมื่อ x, y เป็นจำนวนเต็มใดๆ

การจำแนกจำนวนเต็มบวกโดยใช้สมบัติการหารลงตัว

1.จำนวนเฉพาะ (Prime Numbers)

บทนิยาม    จำนวนเต็ม  p จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p ≠ 0, p ≠ 1, p ≠ -1 และถ้ามีจำนวนเต็มที่หาร p ลงตัว                      จำนวนเต็มนั้นต้องเป็นสมาชิกของ {-1, 1, p, -p}

2.จำนวนประกอบ (Composite Numbers)

บทนิยาม    จำนวนเต็ม c เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 1 จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ c ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ

           นั่นคือสำหรับจำนวนเต็มบวก c ใดๆ c จะเป็นจำนวนประกอบ ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม m และ n ที่ต่างจาก c ที่ทำให้ c = mn

ตัวอย่างเช่น     จำนวนที่หาร 2 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 2, -2}  2 เป็นจำนวนเฉพาะ
                      จำนวนที่หาร 3 ลงตัว ได้แก่ {-1, 1, 3, -3}  3 เป็นจำนวนเฉพาะ
                      จำนวนที่หาร 4 ลงตัว ได้แก่ {-4, -2, -1, 1, 2, 4}  4 ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ

             ขั้นตอนวิธีการหาร 
                     ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ b ≠ 0 แล้วจะมี q และ r ซึ่งเป็นจำนวนเต็มที่ทำให้
                     a = bq + r เมื่อ 0 r |b|
                     นั่นคือ a เป็นตัวตั้งหารด้วย b ได้ผลหารคือ q และเศษ r

              ตัวอย่างที่ 1    กำหนด a = 48, b = 7 จงหา q และ r
                                 เขียนให้อยู่ในรูปa = bq + r
                                    48 = 7 × 6 +6
                                 ดังนั้น q = 6 และ r = 6

*ตัวหารร่วม
        ตัวหารร่วม
             กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ เรียกจำนวนเต็ม c 
       ซึ่ง c | a และ c | b ว่าเป็น “ตัวหารร่วม” ของ a และ b

        ตัวหารร่วมมาก
              กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน เรียกจำนวนเต็มบวก d ที่มีค่ามากที่สุด ซึ่ง d | a            และ d | b ว่าเป็น “ตัวหารร่วมมาก” (ห.ร.ม.) ของ a และ b เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (a, b)

การหาตัวหารร่วมมากโดยใช้ขั้นตอนวิธีของยุคลิด


จำนวนเฉพาะสัมพัทธ์
บทนิยาม     จำนวนเต็ม a และ b จะเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันก็ต่อเมื่อ (a, b) = 1

*ตัวคูณร่วมน้อย
      ตัวคูณร่วมน้อย
           กำหนด a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นศูนย์ เรียกจำนวนเต็มบวก c ที่มีค่าน้อยที่สุด ซึ่ง a | c และ b | c ว่า      เป็น "ตัวคูณร่วมน้อย" (ค.ร.น.) ของ a และ b เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [a, b]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น